วันพฤหัสบดีที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ดาวพุธ mercury


 

ดาวพุธ mercury


ดาวพุธเป็นดาวเคราะห์ที่ใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุด ชื่อของดาวเคราะห์ คือ Mercury เป็นชื่อในภาษาโรมัน โดยเป็นชื่อของผู้ส่งสารของพระเจ้า ซึ่งมีความรวดเร็ว เนื่องจากดาวพุธ ปรากฏและหายไปอย่างรวดเร็ว ในช่วงเช้า หรือช่วงค่ำนั่นเอง
      ดาวพุธเป็นดาวเคราะห์ดวงที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุด จึงเคลื่อนรอบดวงอาทิตย์เร็วที่สุด โดยใช้เวลาเพียง 87.969 วันในการโคจรรอบดวงอาทิตย์ 1 รอบ ดาวพุธหมุนรอบตัวเองในทิศทางเดียว กับการเคลื่อนรอบดวงอาทิตย์ คือ จากทิศตะวันตกไป ทิศตะวันออก หมุนรอบตัวเองรอบละ 58.6461 วัน เมื่อพิจารณาจากคาบของการหมุนรอบตัวเอง และการคาบการเคลื่อนที่รอบดวงอาทิตย์ จะพบว่าระยะเวลากลางวัน ถึงกลางคืนบนดาวพุธยาวนานถึง 176 วัน ซึ่งยาวนานที่สุดในระบบสุริยะ

ข้อมูลจำเพาะของดาวพุธ
ระยะห่างจากดวงอาทิตย์ โดยเฉลี่ย 57.90 ล้านกิโลเมตร(0.387 a.u.)
ใกล้สุด 45.90 ล้านกิโลเมตร (0.306 a.u.)
ไกลสุด 69.70 ล้านกิโลเมตร (0.467 a.u.)
Eccentricity 0.206
คาบการหมุนรอบตัวเอง 58.6461 วัน
คาบการหมุนรอบดวงอาทิตย์ 87.969 วันบนโลก ด้วยความเร็ว 47.87 กิโลเมตรต่อวินาที
ระนาบโคจร (Inclination) 7:00:15.5 องศา
แกนเอียงกับระนาบโคจร 0 องศา
มวล 3.33x10 26 กรัม หรือ 0.055 เท่าของโลก
เส้นผ่านศูนย์กลาง 4,878 กิโลเมตร (โลก 12,756 กิโลเมตร ที่เส้นศูนย์สูตร)
แรงโน้มถ่วง 0.38 เท่าของโลก
ความเร็วหลุดพ้น 4.25 กิโลเมตรต่อวินาที
ความหน่าแน่น 1 ต่อ 5.44 เมื่อเทียบกับน้ำ
ความสว่างสูงสุด -1.9

 ดาวพุธ ดาวเคราะห์ชั้นในสุด มีวงโคจรรอบดวงอาทิตย์เกือบจะกลม (ค่า Ecc) และมีคาบการโคจร รอบดวงอาทิตย์ ที่สั้นที่สุด จึงทำให้ดาวพุธเคลื่อนที่บนท้องฟ้าเร็วมาก คนกรีกโบราณจึงยกให้ดาวพุธเป็น ดาวตัวแทนของ เทพเมอร์คิวรี่ (Mercury) เทพแห่งการสื่อสาร เมื่อมองด้วยกล้องโทรทรรศน์จะเห็น ลักษณะของดาวพุธ เว้าแว่งเป็นเสี้ยวคล้ายกับดวงจันทร์
     การสังเกตดาวพุธ เราสามารถเห็นดาวพุธได้เป็นบางช่วง หากดาวพุธไม่โคจรมาอยู่หน้าดวงอาทิตย์หรือหลัง ดวงอาทิตย์ เราจะเห็นดาวพุธอยู่ทางซีกตะวันตกหลังดวงอาทิตย์ตกไปเล็กน้อย และทิศตะวันออกก่อนดวงอาทิตย์ขึ้น เล็กน้อย อยู่สูงจากขอบฟ้าไม่เกิน 25 องศา และเห็นได้เพียงช่วงเวลาสั้นๆ ไม่เกิน 20 นาที ก็จะลับขอบฟ้าไปหรือ แสงอาทิตย์ขึ้นมาบัง (ดูข้อมูลได้จาก: ตำแหน่งของดาวเคราะห์)
     ดาวพุธจึงโคจรอยู่ท่ามกลาง ความร้อนจัด ของดวงอาทิตย์ในระยะห่าง เฉลี่ย ประมาณ 58,000,000 กิโลเมตร ในขณะที่อยู่ห่างจากโลกของเราประมาณ 15,000,000 กิโลเมตร ด้วยเหตุนี้เมื่อเรามองดาวพุธจากโลก จึงเห็นดาวพุธอยู่ใกล้ ดวงอาทิตย์ ตลอดเวลา แต่เนื่องจากความสว่างของเวลากลางวัน ทำให้เราไม่สามารถเห็น ดาวพุธด้วย ตาเปล่า จนกว่าดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้า หรือก่อนดวงอาทิตย์จะปรากฎในวันใหม่ กล่าวคือ ถ้าอยู่ทางทิศตะวันออกของดวงอาทิตย์ จะลับขอบฟ้าหลังดวงอาทิตย์ จึงมีโอกาส เห็นอยู่ทางทิศตะวันตก ในเวลาหัวค่ำ แต่ถ้าอยู่ทางทิศตะวันตก ของดวงอาทิตย์ จะลับ ขอบฟ้า ก่อนดวงอาทิตย์ และจะขึ้นก่อนดวงอาทิตย์ ในเวลารุ่งเช้า จึงมีโอกาสเห็นอยู่ทาง ทิศตะวันออกในเวลาใกล้รุ่ง
      ดาวพุธเป็นดาวเคราะห์ที่มีขนาดเล็ก มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 4,878 กิโลเมตร มีมวลประมาณ 0.054 เท่าของโลก ใช้เวลาในการโคจรรอบดวงอาทิตย์รอบหนึ่งเป็นเวลาประมาณ 87.97 วัน หรือ 88 วัน ไม่มีดวงจันทร์เป็นบริวาร ซึ่งก่อนปี ค.ศ. 1965 นักดาราศาสตร์มีความเชื่อว่าดาวพุธใช้เวลาโคจรรอบ ดวงอาทิตย์ เท่ากับเวลาที่ใช้ใน การหมุน รอบตัวเอง นั่นหมายถึงว่า ดาวพุธจะหันด้านเดียวในการรับแสง จากดวงอาทิตย์ตลอดเวลา แต่เมื่อ Roef Dyee และ Gordon Effect นักวิทยาศาสตร์คอร์เนล์ ประเทศสหรัฐอเมริกา นำเทคนิคของเรดาร์มาวัดการหมุนรอบตัวเอง ของดาวพุธ พบว่าใช้เวลาเพียง 58.65 วัน หรือประมาณ 59 วันเท่านั้น แต่ 1 วันบนดาวพุธจะยาวถึง 176 วันของโลก
โครงสร้างของดาวพุธ
เปลือกชั้นนอกของดาวพุธ เป็นหินแข็งชั้นบางๆ มีหลุมอุกกาบาตมากมาย คล้ายกับดวงจันทร์ของเรา แต่ด้วยขนาดที่ ใหญ่กว่าดวงจันทร์ทำให้สนามแรงดึงดูดมากกว่า อุกกาบาตที่ชนจึงรุนแรงกว่า หลุมบ่อบนดาวพุธจึงลึกมากและ มีเศษกระจายโดยรอบปากหลุมมากมาย
เปลือกชั้นใน เป็นหินซิลิเกต แกนกลางมีขนาดใหญ่ราว 80 เปอร์เซนต์ของดาวทั้งดวง ประกอบด้วยเหล็กและนิเกิล ในสภาพหลอมเหลว เพราะดาวพุธอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากสนามแรงโน้มถ่วงอันมหาศาลของดวงอาทิตย์ทำให้แกนใน ของดาวพุธคุกลุนอยู่ตลอดเวลา

บรรยากาศของดาวพุธ บรรยากาศบนดาวพุธเบาบางมากประมาณ หนึ่งในร้อยล้านของบรรยากาศโลก ประกอกด้วย ออกซิเจน 56% โซเดียม 35% ฮีเลียม 8% โปรตัสเซียมและไฮโดรเจน 1% ธาตุโซเดียมและโปรตัสเซียมจะมีเฉพาะ ในเวลากลางวัน ส่วนในเวลากลางคืน ธาตุเหล่านั้นจะถูกดูดซึมลงในชั้นหิน
อุณหภูมิบนดาวพุธ ด้วยเพราะเหตุว่าดาวพุธนั้นอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุดจึงทำให้อุณหภูมิบนดาวพุธสูงมาก โดยเฉลี่ยในเวลากลางวัน สูงถึง 430 องศาเซลเซียส (สามารถหลอมตะกั่วได้) ส่วนในเวลากลางคืนดาวพุธ ไม่มีชั้นบรรยากาศห่อหุ้มเพื่อเก็บ ความร้อนทำให้อุณหภูมิลดต่ำลงถึง -180 องศาเซลเซียส และด้วยปรากฏการ์ที่ การหมุนรอบตัวเองของดาวพุธช้ามาก คือ 58 วันใกล้เคียงกับการหมุนรอบด้วยอาทิตย์คือ 88 วัน ทำให้ หนึ่งวันบนดาวพุธยาวนานถึง 176 วันบนโลก
พื้นผิวของดาวพุธ มีลักษณะคล้ายดวงจันทร์ โดยเฉพาะด้านไกลโลก เพราะต่างไม่มีบรรยากาศ แต่ดาวพุธมีขนาดใหญ่กว่า มีแรงโน้มถ่วงสูงกว่า ขอบหลุมบนดาวพุธจึงเตี้ยกว่าบนดวงจันทร์ ยานอวกาศที่เข้าไปเฉียดใกล้ๆ ดาวพุธและนำภาพมาต่อกันจนได้ภ าพพื้นผิวดาวพุธดังกล่าวคือ ยานอวกาศมารีเนอร์ 10 ของสหรัฐอเมริกาเมื่อ พ.ศ. 2517 นับว่าเป็นยานลำแรกและลำเดียวที่ส่งไปสำรวจดาวพุธ ยานมารีเนอร์ 10 เข้าใกล้ดาวพุธ 3 ครั้งด้วยกัน คือ เมื่อเดือนมีนาคม และ กันยายน พ.ศ. 2517 และเดือนมีนาคม พ.ศ. 2518 ยานเข้าใกล้ดาวพุธที่สุดครั้ง แรกเมื่อวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2517 และได้ส่งภาพกลับมา 647 ภาพ ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2517 และครั้งที่ 3 เมื่อวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2518 ขณะนั้นเครื่องมือภายในยานได้เสื่อมสภาพลง ในที่สุดก็ติดต่อกับโลกไม่ได้ตั้งแต่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2518 ยานมารีเนอร์ 10 จึงกลายเป็นขยะอวกาศที่โคจรอยู่รอบดวงอาทิตย์ โดยเข้ามาใกล้ดาวพุธครั้งคราวตามจังหวะเดิมต่อไป
     นอกจากดาวพุธจะมีช่วงกลางวันถึงกลางคืนยาวที่สุดแล้ว ยังมีทางโคจรที่รีมากด้วย เป็นรองเฉพาะดาวพลูโตเท่านั้น ดาวพุธมีระยะใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุด 0.31 หน่วยดาราศาสตร์ และไกลที่สุด 0.47 หน่วยดาราศาสตร์ ทำให้ 2 ระยะนี้ แตกต่างกันถึง 0.16 หน่วยดาราศาสตร์ หรือ 24 ล้านกิโลเมตร นั่นหมายความว่า ถ้าไปอยู่บนดาวพุธจะเห็นดวงอาทิตย์มีขนาดเปลี่ยนแปลงค่อนข้างมาก โดยเมื่ออยู่ใกล้ดางอาทิตย์ที่สุดจะเห็นดวงอาทิตย์ใหญ่เป็น 2 เท่าครึ่งของเมื่ออยู่ไกลดวงอาทิตย์ที่สุด ซึ่งโตประมาณ 4 เท่าของที่เห็นจากโลก ในระหว่างเวลากลางวัน อุณหภูมิที่ผิวของดาวพุธช่วงที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์ ที่สูงสุดถึง 700 เคลวิน (ประมาณ 427 องศาเซลเซียส) สูงพอที่จะละลายสังกะสีได้ แต่ในเวลากลางคืนอุณหภูมิลดต่ำลงเป็น 50 เคลวิน (-183 องศาเซลเซียส) ต่ำพอที่จะทำให้ก๊าซคริปตอนแข็งตัว การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิบนพื้นผิวดาวพุธจึงรุนแรง คือร้อนจัดในเวลากลางวันและเย็นจัดในเวลากลางคืน ปรากฏการณ์เช่นนี้เกิดบนดวงจันทร์ของโลกเราด้วย ทั้งนี้เพราะไม่มีบรรยากาศที่จะดูดกลืนความร้อนอย่างเช่นโลก
     ลักษณะพิเศษของดาวพุธ มีความหนาแน่นสูงมาก (5.43 กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร เทียบกับโลก 5.52 กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร) เป็นดาวเคราะห์ประเภทโลก แต่มีความหนาแน่นมากเป็นพิเศษ ดาวพุธโตกว่าดวงจันทร์ไม่มาก แต่มีความหนาแน่นมากกว่าดวงจันทร์ถึง 16 เท่า เมื่อเทียบสัดส่วนแล้ว ดาวประเภทโลกซึ่งได้แก่ โลก ดาวศุกร์ ดาวอังคาร ดาวพุธ และดวงจันทร์ ปรากฏว่าความหนาแน่นของโลก ดาวศุกร์ ดาวอังคาร และดวงจันทร์เพิ่มขึ้นตามขนาด กล่าวคือถ้าเขียนกราฟแสดงความหนาแน่นไว้เป็นแกนตั้ง และรัศมีไว้เป็นแกนนอน จะพบว่าดวงจันทร์ ดาวอังคาร ดาวศุกร์ และโลกอยู่บนเส้นตรงเดียวกัน ดวงจันทร์มีขนาดเล็กที่สุด จึงมีความหนาแน่นน้อยที่สุด โลกใหญ่ที่สุดมีความหนาแน่นมากที่สุด ส่วนดาวพุธอยู่สูงกว่าเส้นตรงนี้ จึงมีความหนาแน่นมากเป็นพิเศษ
     จากสมบัติพิเศษข้อนี้ แสดงว่าแก่นกลางของดาวพุธมีความหนาแน่นสูง และมีขนาดใหญ่ องค์ประกอบส่วนมากจะเป็นเหล็ก แก่นกลางของดาวพุธเมื่อ เทียบกับขนาดภายนอกจึงใหญ่ที่สุดในบรรดาดาวเคราะห์ทุกดวง สมบัติพิเศษข้อนี้นับเป็นการค้นพบใหม่ที่ทำให้เกิดปัญหาที่น่าคิดตามมาคือ ปัญหาเรื่องกำเนิดและวิวัฒนาการของระบบสุริยะ นักดาราศาสตร์ส่วนมากเชื่อว่า ดวงอาทิตย์และบริวารเกิดจากเนบิวลาเดียวกัน ในเวลาใกล้เคียงกัน หากความเชื่อนี้เป็นจริง ย่อมมีข้ออธิบายเกี่ยวกับดาวพุธเป็นข้อใดข้อหนึ่งใน 3 ข้อต่อไปนี้คือ องค์ประกอบของเนบิวลาที่ก่อกำเนิดเป็นระบบสุริยะ บริเวณตำแหน่งของดาวพุธจะต้องมีความแตกต่างอย่างมากจากบริเวณอื่น ดวงอาทิตย์ในระยะเริ่มแรกอาจมีพลังผลักดันมากในการผลักก๊าซเบาๆ รวมทั้งธาตุที่มีความหนาแน่นต่ำให้หลุดลอยออกจากดาวพุธให้ไปอยู่รอบนอกของระบบสุริยะ
     มีดาวขนาดใหญ่ดวงหนึ่งชนดาวพุธในระยะภายหลังการอุบัติขึ้นของดาวพุธไม่นาน ทำให้สารที่มีความหนาแน่นน้อยกลายเป็นก๊าซหลุดลอยไปจนหมดสิ้น มีข้อสังเกตที่น่าแปลกใจอยู่มากๆ คือ การตรวจไม่พบธาตุเหล็กบนพื้นผิวดาวพุธ นับว่าเป็นข้อขัดแย้งกับสมมติฐานที่ว่า แกนกลางของดาวพุธเป็นเหล็ก ในกรณีของโลก ดาวอังคาร และดวงจันทร์ ซึ่งมีแกนกลางเป็นเหล็กนั้นได้ตรวจ พบเหล็กในระดับผิวกายด้วย ดาวพุธจึงอาจเป็นดาวเคราะห์ชั้นในดวงเดียวที่มีเหล็กอยู่ ณ ใจกลางและมีพื้นผิวเป็นซิลิเกต ซึ่งมีความหนาแน่นต่ำ และอาจเป็นไปได้ว่าดาวพุธหลอมอยู่เป็นเวลานาน จนทำให้โลหะหนักตกลงไปอยู่ข้างล่างที่ศูนย์กลาง คล้ายเหล็กตกตะกอนอยู่ข้างล่างของเตาเผา ดาวพุธมีสนามแม่เหล็กความเข้มสูง ยานมารีเนอร์ 10 ได้ตรวจพบว่าดาวพุธมีสนามแม่เหล็กความเข้มสูงรองจากโลก สำหรับดาวเคราะห์ขนาดเล็กด้วยกัน ในกรณีของโลกสนามแม่เหล็กเกิดจากการไหลหมุนเวียนของโลหะหลอม เหลวที่เป็นตัวนำไฟฟ้าภายในแก่นกลางของโลก ตามหลักการเดียวกันกับไดนาโมที่เลี้ยงตัวเองได้ ถ้าสนามแม่เหล็กของดาวพุธมีแหล่งกำเนิดแหล่งเดียวกับของโลก แสดงว่าแกนกลางของดาวพุธต้องเป็นของเหลวด้วยเช่นเดียวกัน
     แต่สมมติฐานข้อนี้มีปัญหาอย่างหนึ่งตามมาคือ ดาวขนาดเล็กอย่างดาวพุธ จะมีอัตราส่วนของพื้นที่ต่อปริมาตรสูง ดังนั้น ถ้าอยู่ในสภาวะแวดล้อมเดียวกัน ดาวขนาดเล็กจะแผ่รังสีออกสู่อวกาศได้เร็วกว่า นั่นหมายความว่า หากดาวพุธมีแก่นกลางเป็นเหล็ก เพราะความหนาแน่นสูงและมีสนามแม่เหล็กความเข้มสูง แก่นกลางย่อมเย็นตัวและแข็งตัวนานมาแล้ว แต่แก่นกลางที่เป็นของแข็ง จะไม่สามารถก่อกำเนิดไดนาโมที่เลี้ยงตัวเองได้ ข้อขัดแย้งนี้นำไปสู่ความคิดที่ว่า แก่นกลางคงมีสารอย่างอื่นเจือปน สารเจือปนทำให้อุณหภูมิหลอมเหลวของเหล็กลดลง เหล็กจึงอยู่ในสภาวะเหลว ที่อุณหภูมิต่ำลงได้ สารเจือปนที่เป็นไปได้คือ ซัลเฟอร์ ซึ่งมีมากในเอกภพ แต่ยังมีความคิดอื่นอีก เช่น แก่นกลางเป็นเหล็กแข็งล้อมรอบด้วยชั้นที่เป็นของเหลว ซึ่งเป็นส่วนผสมของเหล็กกับซัลเฟอร์ที่อุณหภูมิ 1,300 เคลวิน (1,027 องศาเซลเซียส) มีหลุมอุกาบาตขนาดใหญ่ 2 หลุมอยู่คนละด้านของดาวพุธ หลุมอุกาบาตขนาดใหญ่ที่เกิดจากการชนของดาวเคราะห์น้อยโดยตรง ชื่อแอ่งคาลอริส (Caloris Basin) มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 1,300 กิโลเมตร เกิดเมื่อ 3,600 ล้านปีมาแล้ว แรงของการชนทำให้เกิดคลื่นปะทะแผ่เข้าไปภายในดาวพุธ แล้วเกิดเป็นริ้วรอยอีกด้านหนึ่งมีลักษณะเป็นภูเขาและรอยแยก
     ต่อมาบริเวณนี้ถูกอุกาบาตอื่นชน และเกิดหลุมอุกาบาตเพตทราร์ค (Petrarch Crater) เกิดการชนรุงแรงมากพอที่จะทำให้ก้อนหินละลาย แล้วไหลเป็นทางยาว 100 กิโลเมตร ไปท่วมหลุมอุกาบาตขนาดเล็กกว่า ที่อยู่ใกล้เคียงกัน พื้นผิวดาวพุธมีร่องรอยเป็นทางยาวตัดกัน เรียกว่า ตารางของดาวพุธ (Mercurian Grid) ริ้วรอยเช่นนี้อาจเกิดจากการเปลี่ยนอัตราการหมุนรอบตัวเองของดาวพุธ เมื่อก่อนดาวพุธหมุนรอบตัวเองเร็วมาก อาจเป็นรอบละเพียง 20 ชั่วโมง ทำให้โป่งออกบริเวณเส้นศูนย์สูตร ขณะนั้นเปลือกนอกกำลังเย็นตัวลง เมื่ออัตราการหมุนช้าลง แรงโน้มถ่วงจะทำหน้าที่ดึงและปรับให้ดาวพุธมีความเป็นทรงกลมมากขึ้น ริ้วรอยที่เป็นขีดยาวตัดกันซึ่งอาจเกิดขึ้นในตอนนี้นั้น โปรดสังเกตว่าริ้วรอยนี้ไม่มีบนแอ่งคาลอริส แสดงว่าริ้วรอยเกิดก่อนแอ่งคาลอริส มีบรรยากาศที่เบาบางมาก บรรยากาศเกิดจากลมสุริยะซึ่งถูกดักจับไว้ โดยสนามแม่เหล็กของดาวพุธ เหนือพื้นผิว ณ จุดที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุด ลมสุริยะพลังงานสูงจะลงมาถึงและชนพื้นผิว ทำให้เกิดอนุภาคใหม่ที่อยู่ภายในแมกนีโทสเฟียร์ของดาวพุธ แต่เนื่องจากเวลากลางวันพื้นผิวดาวพุธร้อนมาก โมเลกุลของก๊าซบนพื้นผิวจะเคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูงกว่าความเร็วของการผละหนี ก๊าซจึงหนีไปหมด ดังนั้นในอดีตจึงเชื่อว่าดาวพุธไม่มีบรรยากาศเลย
ยานสำรวจดาวพุธ มีเพียงยานมาริเนอร์ 10 ของสหรัฐเท่านั้นที่ได้ไปสำรวจดาวพุธ ถูกปล่อยขึ้นสู่อวกาศเมื่อเดือน พฤศจิกายน 1973 และได้เข้าใกล้ดาวพุธที่สุดระยะห่าง 300 กิโลเมตร
ยานมาริเนอร์ 10
หมายเหตุ:
Eccentricity เป็นค่าคงทีของวงโคจร ที่บอกว่าวงโคจรนั้นรีมากหรือน้อย หาได้จาก ระยะห่างของจุด โฟกัสทั้งสอง หารด้วย ความยาวของแกนหลัก ซึ่งวงกลมจะมีค่า Ecc=0 และพาลาโบล่าจะมีค่า Ecc=1
Inclination มุมเอียงที่ระนาบการโคจรของดาวเคราะห์หรือดาวหาง ทำกับระนานอิคลิปติค มีหน่วยเป็น องศา
     ปัจจุบันนักดาราศาสตร์พบร่องรอยของบรรยากาศ และพบน้ำแข็งบริเวณขั้ว ซึ่งอาจเกิดจากการชนของดาวหางบนดาวพุธ และอาจเป็นผู้ก่อกำเนิด ออกซิเจน และไฮโดรเจนบนดาวพุธ ปรากฎการณ์บนฟ้าเกี่ยวกับดาวพุธ เห็นอยู่ใกล้ขอบฟ้าเสมอ สาเหตุเป็นเพราะวงโคจรของดาวพุธเล็กกว่า วงโคจรของโลก ดาวพุธจึงปรากฏห่างจากดวงอาทิตย์ได้อย่างมากไม่เกิน 28 องศา นั่นหมายความว่า ถ้าอยู่ทางทิศตะวันออกของดวงอาทิตย์ จะเห็นทางทิศตะวันตกในเวลาหัวค่ำ แต่ถ้าอยู่ทางตะวันตกของดวงอาทิตย์ จะขึ้นก่อนดวงอาทิตย์ จึงเห็นทางทิศตะวันออกในเวลารุ่งอรุณ และเห็นเป็นเสี้ยวในกล้องโทรทรรศน์ เนื่องจากดาวพุธไม่หันด้านสว่างทั้งหมดมาทางโลก แต่จะหันด้านสว่างเพียงบางส่วนคล้ายดวงจันทร์ข้างขึ้นหรือข้างแรม หันด้านสว่างมาทางโลก ถ้าดาวพุธหันด้านสว่างทั้งหมดมาทางโลก เราจะมองไม่เห็น เพราะดาวพุธอยู่ไปทางเดียวกันกับดวงอาทิตย์ เห็นเป็นจุดดำเล็กๆ บนพื้นผิวดวงอาทิตย์
     เมื่อดาวพุธมาอยู่บนเส้นตรงที่ต่อระหว่างดาวพุธกับโลก ปรากฏการณ์นี้เรียกว่าดาวพุธผ่านหน้าดวงอาทิตย์ เคปเลอร์เป็นนักดาราศาสตร์คนแรกที่คำนวณได้ว่าจะเกิดปรากฏการณ์ ดาวพุธผ่านหน้าดวงอาทิตย์ ในวันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2174 ซึ่งทำให้แกสแซนดีสามารถสังเกตปรากฏการณ์ครั้งนั้นได้ นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน ได้เกิดดาวพุธผ่านหน้าดวงอาทิตย์แล้ว 48 ครั้ง เคยเกิดเมื่อ วันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2536 ครั้งสุดท้ายเกิดเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542 ปรากฏการณ์ดาวพุธผ่านหน้าดวงอาทิตย์เกิดเฉพาะในเดือนพฤษภาคม และเดือนพฤศจิกายนเท่านั้น ขณะที่เดือนพฤษภาคม ดาวพุธจะอยู่ใกล้ตำแหน่งไกลสุดจากดวงอาทิตย์ ส่วนเดือนพฤศจิกายน ดาวพุธจะอยู่ใกล้ตำแหน่งใกล้สุดจากดวงอาทิตย์ ดาวพุธผ่านหน้าดวงอาทิตย์ในเดือนพฤศจิกายนเกิดบ่อย กว่าในเดือนพฤษภาคมในอัตราส่วนประมาณ 7:3 ช่วงเวลาเกิดยาวนานที่สุด (ของเดือนพฤษภาคม) เกือบ 9 ชั่วโมง สำหรับดาวพุธผ่านหน้าดวงอาทิตย์เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542 ไม่เห็นในประเทศไทย เพราะเกิดขณะเป็นเวลากลางคืน ดวงจันทร์เสี้ยวขณะเป็นวันข้างขึ้นน้อยๆ หรือข้างแรมมากๆ จะผ่านใกล้ดาวพุธเดือนละ 1 ครั้ง รูปร่างของดาวพุธในกล้องโทรทรรศน์จะคล้ายๆ กับรูปร่างของดวงจันทร์เสี้ยวที่อยู่ใกล้ๆ ดวงจันทร์ จึงเป็นสิ่งที่ช่วยให้ค้นพบดาวพุธได้สะดวกวิธีหนึ่ง Hinode Solar Optical Telescope image of Mercury passing in front of the sun

This image of Mercury passing in front of the sun was captured Nov. 8 by the Solar Optical Telescope, one of three primary instruments on Hinode.



น.ส.ศิราพร   แขกิ้มเส้ง  ม.3/1  เลขที่ 46